ที่ตุรกีจะเรียกอาหารกลุ่มไขมันว่า yağ
เนย เรียกว่า tereyağı
ชีส หรือเนยแข็ง peynir
มาการีน margarin
ครีมไขมันนม Süt kaymağı และมีแบบไขมันพืช kaymağı
น้ำมัน และไขมันต่างๆ yağı
จากทั้งหมดก็มีแบ่งเป็นประเภทต่างๆหลายแบบด้วยกัน
สำหรับคนที่ไม่เคยทำเบเกอรี่และมาจากประเทศที่ไม่ได้กินอาหารพวกนี้เป็นอาหารหลักก็คงจะงง ว่าทำไมมีหลายแบบ แล้วแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง
ซึ่งเปิ้ลเองเวลาไปซุปเปอร์มาร์เก็ตทีไร จะหยิบอะไรแต่ละที ยืนงงเป็นไก่ตาแตก แทบจะร้องออกมาว่าพระเจ้ามันมีเป็นร้อยแบบตรูจะหยิบถูกป่าวนี่
ประเภทไขมันมาก(มีจริงๆ ระบุเลยว่าแบบนี้ไขมันสูง เพราะบางคนชอบ) ไขมันน้อย เค็มมาก เค็มน้อย ไม่เค็ม ทำจากนม ทำจากพืช อันนี้ประเภทหลักๆ ส่วนรองๆก้อ สำหรับสุขภาพ คลอเรสเตอรอลน้อย ไม่มีคลอเรสเตอรอล แล้วก็ไหนจะสารพัดยี่ห้อเข้าไปอีก
จะซื้ออะไรแบบไหนแต่ละทีต้องดูก่อนว่าจะเอาไปทำอะไร นึกไปนึกมาบางทีก็งง แรกหยิบมันมาให้หมดสิ้นเรื่องไป เอาอย่างละแบบมาลองดู หลักๆ เริ่มสังเกตุ เอาแบบไม่เค็มเพราะไอ้ที่เค็ม มันเค็มแบบเอาจริงเอาจั เค็มกันเป็นเกลือเลยก็มี ซื้อมาทิ้งเสียดายเงิน
เรื่องของเนย คงไม่มีอะไรมาก เพราะมเนยขาว เนยเหลือง เนยเค็ม เนยจืด อันนี้เรารู้ๆกันอยู่
มาที่ชีส หรือเนยแข็ง มันก็มีหลายประเภท แบ่งเปน 5 แบบใหญ่ๆ
- เนยแข็งประเภท Fresh Cheese คือ เนยแข็งที่ไม่ต้องผ่านความร้อนและไม่ต้องหมักบ่ม มีกลิ่นและรสไม่จัด ออกรสเปรี้ยวอ่อนๆ เนื้อในนิ่มเป็นครีม มีความชื้นสูง เช่น Cream Cheese, Feta, Mozzarella, Ricotta, Cottage Cheese, Mascarpone
- เนยแข็งประเภท Soft-White Cheese คือ เนยแข็งที่ทำจากนมที่มีความเข้มข้นของครีมสูง เนื้อในจึงมีลักษณะเป็นครีมแข็ง ผิวนอกจะค่อนข้างบาง เมื่อทานแล้วจะค่อยๆละลายในปาก มีความชื้นน้อยกว่าเนยแข็งประเภท Fresh Cheese และจะต้องผ่านกระบวนการบ่มด้วยราสีขาวก่อนนำมาบริโภค เช่น Brie, Camembert, Neufchatel
- เนยแข็งประเภท Natural-Rind Cheese คือ เนยแข็งที่ทำจากนมแพะตามแบบฝรั่งเศส มีพัฒนาการมาจากเนยแข็งประเภท Fresh Cheese แต่จะต้องผ่านการขับน้ำทิ้งมากกว่าจึงมีความชื้นน้อยกว่า หลังจากการบ่มเนยแข็งประเภทนี้จะมีรอยย่นพื้นบนผิวรอบนอกมาก มีรสชาติที่เด่นขึ้นด้วย เนยแข็งประเภทนี้จะบ่มด้วยราสีฟ้าค่อนข้างเทา มีจุดสีน้ำเงินออกน้ำตาลที่ผิวเนยแข็ง และเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีกลิ่นแรงขึ้นด้วย เช่น Crottin de Chavignol, Sainte-Maure de Touraine
- เนยแข็งประเภท Wash-Rind Cheese คือ เนยแข็งผิวนอกมีความเหนียวและมีสีน้ำตาลส้ม ซึ่งเกิดจากการล้างด้วยน้ำเกลือระหว่างการบ่ม มีตั้งแต่กลิ่นหอมจากเครื่องเทศไปจนถึงกลิ่นฉุน เช่น Herve, Limburger, Munster
- เนยแข็งประเภท Hard Cheese คือ เนยแข็งที่เกิดจากการนำหางนมออกไปมากจนความชื้นในเนยแข็งเหลือเพียงเล็กน้อย เปลือกเนยแข็งจะหนา เนื้อแข็ง ใช้เวลาบ่มนาน เช่น Cheddar, Emmemtal, Gouda, Pecorino, Romano, Beaufort
การแบ่งเนยแข็งออกเป็น 5 ประเภทที่ได้กล่าวไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการแบ่งประเภทเนยแข็งเพียงคร่าวๆ ในความเป็นจริงแล้วเนยแข็งทั้ง 5 ประเภทยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก เช่น แบ่งตามประเทศที่ผลิต แบ่งตามการกดอัดและการปรุงแต่ง แบ่งตามใยหุ้มเชื้อรา เป็นต้น (อ้างอิงจากวิกิพีเดีย)
สำหรับมาการีน ก็คล้ายๆเนย มีแบบขาว แบบเหลือง ซึ่งจะบอกไว้ชัดเจนว่า สำหรับทาขนมปัง ทำอาหาร หรือทำเบเกอรรี่ อันนี้ไม่ยาก
มาที่ครีมไขมันนม หรือครีมไขมันพืช (ได้จากถั่วต่างๆ) ส่วนใหญ่ใช้ทำขนม ทำเบเกอรี่ ทำหน้าเค้กทั่วไป มีทั้งแบบครีม และแบบผง ก็จะแบ่งเป็นไขมันน้อย ไขมันมากตามลำดับไป ส่วนใหญ่เราจะเอามาทำวิปปิ้งครีมนั่นเอง
แล้วสุดท้ายน้ำมันต่างๆ ก็จะมีน้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคาโมลา ดอกทานตะวัน และจากถั่ว ซึ่งใช้ทั้งประกอบอาหาร ทำน้ำสลัด และอื่นๆ
สำหรับคนที่เคยอยู่เมืองไทยแบบเปิ้ลกินอาหารไทย จะรู้จักแค่ไม่กี่อย่าง การได้ออกไปซุปเปอร์มาเก็ตของที่นี่ (ชอบมากเพราะเห็นอะไรละลานตาไปหมด) ถือเป็นการเปิดหูเปิดตาเพราะได้เห็นอาหาร ขนม และวัฒนธรรมการกินที่แตกต่างออกไป
เนย เรียกว่า tereyağı
ชีส หรือเนยแข็ง peynir
มาการีน margarin
ครีมไขมันนม Süt kaymağı และมีแบบไขมันพืช kaymağı
น้ำมัน และไขมันต่างๆ yağı
จากทั้งหมดก็มีแบ่งเป็นประเภทต่างๆหลายแบบด้วยกัน
สำหรับคนที่ไม่เคยทำเบเกอรี่และมาจากประเทศที่ไม่ได้กินอาหารพวกนี้เป็นอาหารหลักก็คงจะงง ว่าทำไมมีหลายแบบ แล้วแต่ละแบบแตกต่างกันยังไง
ซึ่งเปิ้ลเองเวลาไปซุปเปอร์มาร์เก็ตทีไร จะหยิบอะไรแต่ละที ยืนงงเป็นไก่ตาแตก แทบจะร้องออกมาว่าพระเจ้ามันมีเป็นร้อยแบบตรูจะหยิบถูกป่าวนี่
ประเภทไขมันมาก(มีจริงๆ ระบุเลยว่าแบบนี้ไขมันสูง เพราะบางคนชอบ) ไขมันน้อย เค็มมาก เค็มน้อย ไม่เค็ม ทำจากนม ทำจากพืช อันนี้ประเภทหลักๆ ส่วนรองๆก้อ สำหรับสุขภาพ คลอเรสเตอรอลน้อย ไม่มีคลอเรสเตอรอล แล้วก็ไหนจะสารพัดยี่ห้อเข้าไปอีก
จะซื้ออะไรแบบไหนแต่ละทีต้องดูก่อนว่าจะเอาไปทำอะไร นึกไปนึกมาบางทีก็งง แรกหยิบมันมาให้หมดสิ้นเรื่องไป เอาอย่างละแบบมาลองดู หลักๆ เริ่มสังเกตุ เอาแบบไม่เค็มเพราะไอ้ที่เค็ม มันเค็มแบบเอาจริงเอาจั เค็มกันเป็นเกลือเลยก็มี ซื้อมาทิ้งเสียดายเงิน
เรื่องของเนย คงไม่มีอะไรมาก เพราะมเนยขาว เนยเหลือง เนยเค็ม เนยจืด อันนี้เรารู้ๆกันอยู่
มาที่ชีส หรือเนยแข็ง มันก็มีหลายประเภท แบ่งเปน 5 แบบใหญ่ๆ
- เนยแข็งประเภท Fresh Cheese คือ เนยแข็งที่ไม่ต้องผ่านความร้อนและไม่ต้องหมักบ่ม มีกลิ่นและรสไม่จัด ออกรสเปรี้ยวอ่อนๆ เนื้อในนิ่มเป็นครีม มีความชื้นสูง เช่น Cream Cheese, Feta, Mozzarella, Ricotta, Cottage Cheese, Mascarpone
- เนยแข็งประเภท Soft-White Cheese คือ เนยแข็งที่ทำจากนมที่มีความเข้มข้นของครีมสูง เนื้อในจึงมีลักษณะเป็นครีมแข็ง ผิวนอกจะค่อนข้างบาง เมื่อทานแล้วจะค่อยๆละลายในปาก มีความชื้นน้อยกว่าเนยแข็งประเภท Fresh Cheese และจะต้องผ่านกระบวนการบ่มด้วยราสีขาวก่อนนำมาบริโภค เช่น Brie, Camembert, Neufchatel
- เนยแข็งประเภท Natural-Rind Cheese คือ เนยแข็งที่ทำจากนมแพะตามแบบฝรั่งเศส มีพัฒนาการมาจากเนยแข็งประเภท Fresh Cheese แต่จะต้องผ่านการขับน้ำทิ้งมากกว่าจึงมีความชื้นน้อยกว่า หลังจากการบ่มเนยแข็งประเภทนี้จะมีรอยย่นพื้นบนผิวรอบนอกมาก มีรสชาติที่เด่นขึ้นด้วย เนยแข็งประเภทนี้จะบ่มด้วยราสีฟ้าค่อนข้างเทา มีจุดสีน้ำเงินออกน้ำตาลที่ผิวเนยแข็ง และเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีกลิ่นแรงขึ้นด้วย เช่น Crottin de Chavignol, Sainte-Maure de Touraine
- เนยแข็งประเภท Wash-Rind Cheese คือ เนยแข็งผิวนอกมีความเหนียวและมีสีน้ำตาลส้ม ซึ่งเกิดจากการล้างด้วยน้ำเกลือระหว่างการบ่ม มีตั้งแต่กลิ่นหอมจากเครื่องเทศไปจนถึงกลิ่นฉุน เช่น Herve, Limburger, Munster
- เนยแข็งประเภท Hard Cheese คือ เนยแข็งที่เกิดจากการนำหางนมออกไปมากจนความชื้นในเนยแข็งเหลือเพียงเล็กน้อย เปลือกเนยแข็งจะหนา เนื้อแข็ง ใช้เวลาบ่มนาน เช่น Cheddar, Emmemtal, Gouda, Pecorino, Romano, Beaufort
การแบ่งเนยแข็งออกเป็น 5 ประเภทที่ได้กล่าวไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างของการแบ่งประเภทเนยแข็งเพียงคร่าวๆ ในความเป็นจริงแล้วเนยแข็งทั้ง 5 ประเภทยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก เช่น แบ่งตามประเทศที่ผลิต แบ่งตามการกดอัดและการปรุงแต่ง แบ่งตามใยหุ้มเชื้อรา เป็นต้น (อ้างอิงจากวิกิพีเดีย)
สำหรับมาการีน ก็คล้ายๆเนย มีแบบขาว แบบเหลือง ซึ่งจะบอกไว้ชัดเจนว่า สำหรับทาขนมปัง ทำอาหาร หรือทำเบเกอรรี่ อันนี้ไม่ยาก
มาที่ครีมไขมันนม หรือครีมไขมันพืช (ได้จากถั่วต่างๆ) ส่วนใหญ่ใช้ทำขนม ทำเบเกอรี่ ทำหน้าเค้กทั่วไป มีทั้งแบบครีม และแบบผง ก็จะแบ่งเป็นไขมันน้อย ไขมันมากตามลำดับไป ส่วนใหญ่เราจะเอามาทำวิปปิ้งครีมนั่นเอง
แล้วสุดท้ายน้ำมันต่างๆ ก็จะมีน้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคาโมลา ดอกทานตะวัน และจากถั่ว ซึ่งใช้ทั้งประกอบอาหาร ทำน้ำสลัด และอื่นๆ
สำหรับคนที่เคยอยู่เมืองไทยแบบเปิ้ลกินอาหารไทย จะรู้จักแค่ไม่กี่อย่าง การได้ออกไปซุปเปอร์มาเก็ตของที่นี่ (ชอบมากเพราะเห็นอะไรละลานตาไปหมด) ถือเป็นการเปิดหูเปิดตาเพราะได้เห็นอาหาร ขนม และวัฒนธรรมการกินที่แตกต่างออกไป
No comments:
Post a Comment